computer technology


computer technology

ในปัจจุบัน คนทั่วไป ส่วนใหญ่ มองว่า IT หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นแค่ คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์เสริมต่างๆ เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ครอบคลุม ถึงความหมายทั้งหมดของ เทคโนโลยีสารสนเทศ เลย
อย่างเช่น ตำแหน่ง IT Support คนทั่วไปก็จะนึกว่า แค่ช่างซ่อมคอมพ์ แก้ปัญหาเครื่องคอมพ์ แก้ปัญหาโปรแกรม ธรรมดาๆ แค่นั้น แต่นั่นมันยังไม่ใช่ IT ตำแหน่งงานแบบนี้ เป็นแค่ CT Support แค่นั้นเอง หรือร้านค้าที่จำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางร้าน เข้าใจเอาเองว่า ร้านของเขาครบเครื่องเรื่องอุปกรณ์ไอที ซึ่งนั่นมันยังไม่ใช่ IT ที่สมบูรณ์ 100%




   ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า IT หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น มันมีความหมายที่กว้าง และครอบคลุม มากไปกว่านั้นอีก ซึ่งบุคคลทั่วไปหลายท่านยังไม่ทราบ เพราะไม่ได้รู้อย่างละเอียดลึกซึ้งจริงๆ ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น คืออะไร ครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น นอกจากประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมแล้ว ยังประกอบไปด้วย เทคโนโลยีระบบเครื่อข่าย เทคโนโลยีฐานข้อมูล และ เทคโนโลยีการโปรแกรมทางด้านต่างๆ และอื่นๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ใช้งาน ในการดำเนินการ และจัดการ กับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และให้ได้รับประโยชน์ อย่างสูงสุด นั่นเอง
เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่นำมาประกอบกัน เพื่อช่วยสนันสนุน งานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น มีตัวอย่าง ดังนี้
CT = Computer Technology = เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์
TT = Telecommunication Technology = เทคโนโลยี การสื่อสาร โทรคมนาคม
ET = Electronic Technology = เทคโนโลยี อิเล็คโทรนิคส์
NT = Network Technology = เทคโนโลยี เครื่อข่าย
DBT = Database Technology = เทคโนโลยี ฐานข้อมูล
APT = Application Programming Technology = เทคโนโลยี การโปรแกรม ทั่วๆไป
WPT = Web Programming Technology = เทคโนโลยี การโปรแกรม ที่เกี่ยวกับเว็บไซท์
NPT = Network Programming Technology = เทคโนโลยี การโปรแกรม ที่เกี่ยวกับเครือข่าย
DPT = Database Programming Technology = เทคโนโลยี การโปรแกรม ที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล
AIT = Artificial Intelligent Technology = เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์
KBMS = Knowledge Base Management System = ระบบจัดการฐานความรู้
DSS = Dicision Support System = ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
OIMS = Organizational Information Management System = ระบบจัดการข้อมูลในองค์กร
และอื่นๆอีกหลายอย่าง ซึ่งไม่ได้นำมากล่าวถึงในที่นี้
ฯลฯ



  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
           1.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)



  2.  ซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

                    2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ ( System Software) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสั่งงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น และทำหน้าที่ประสานงานกับซอฟท์แวร์ประยุกต์ทั้งระบบ ตัวอย่างของซอฟท์แวร์ระบบ ได้แก่ Windows, Mac OS, Unix และ Linux เป็นต้น

                    2.2 ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น พิมพ์เอกสาร นำเสนองาน และคำนวณ หรือเพื่อใช้งานเฉพ าะด้าน ตัวอย่างได้แก่ Microsoft Word, Adobe Photoshop และ Macromedia Dreamweaver เป็นต้น

                    ซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นสารสนเทศที่สำคัญมี 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมค้นดูเว็บ และโปรแกรมอ่านเอกสาร

                              2.2.1 โปรแกรมค้นดูเว็บ ( Web Browser) เป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการอ่านเนื้อหาของเว็บเพจ โดยทำหน้าที่แปลงค่ารหัสทางคอมพิวเตอร์ ให้เป็นภาพและเสียงตามที่ผู้สร้างเว็บไซต์กำหนด ตัวอย่าง ได้แก่ Internet Explorer, Mosaic, Opera, Netscape Communicator และ Hot Java เป็นต้น

                              2.2.2 โปรแกรมอ่านเอกสาร เอกสารที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ รูปแบบทั่วไปที่นิยมใช้ คือ เป็น HTML , Microsoft Word และ PDF ผู้ใช้จะต้องดาวน์โหลดโปรแกรม Adobe Acrobat Reader มาติดตั้งไว้ในเครื่อง จึงจะสามารถเรียกดูแฟ้มข้อมูลในรูปแบบ PDF ได้




คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ

รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 
        1.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
        2.  ซอฟท์แวร์
 คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device)





    ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
1.             รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
2.             ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
3.             แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
4.              
เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต

ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 


อุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)

เมาส์ (อังกฤษ: Mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน



คีย์บอร์ดคืออุปกรณ์รับข้อมูลที่ใช้การเรียงตัวของปุ่ม ซึ่งแต่ละปุ่มทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิทช์อิเล็กทรอนิกส์
โดยปกติ แล้วคีย์บอร์ดใช้สำหรับพิมพ์ตัวหนังสือ หรือตัวเลขเข้าไปยังโปรแกรมต่างๆ







    จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพ
ได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ 
ไมโครโฟน Microphone

    หรือ เรียกกันแบบย่อว่า ไมค์ (Mic.) คือ อุปกรณ์ แปลงพลังคลื่นเสียง ให้กลายเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า โดยมีจุดกำเนิดจากการคิดวิธีส่งสัญญาณโทรศัพท์
ไมโครโฟนได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย ทั้งด้านการสื่อสาร, การบันทึกเสียง, ระบบคาราโอเกะ, เครื่องช่วยฟัง, อุตสาหกรรมภาพยนต์, การแสดงสดและการบันทึกเสียง หรืองานของวิศวกรด้านเสียง(Audio Engineering), โทรโข่ง, งานกระจายเสียงและแพร่ภาพทางวิทยุและโทรทัศน์ , งานมัลติมีเดีย บน คอมพิวเตอร์, การรับคำสั่งเสียงในอุปกรณ์ IT, การส่งสัญญาณเสียงบนสื่ออินเทอร์เน็ต (VoIP) หรือ งานเสียงที่อยู่นอกเหนือการได้ยิน เช่น การตรวจสอบด้วยอุลตร้าซาวด์ หรือ การตรวจจับการสั่นสะเทือนไมโครโฟนมีการออกแบบหลากหลายตามการใช้งาน โดยส่วนใหญ่ที่ใช้งานในปัจจุบัน จะเป็นแบบทำงานด้วยการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า หรือไดนามิค ไมโครโฟน (Dynamic microphone)แบบการเปลี่ยนแปลงค่าประจุไฟฟ้า หรือ คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน (Condenser microphone) นอกจากนั้นยังมีแบบ Piezoelectric generation หรือ light modulationโดยทุกแบบล้วนมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสัญญาณเสียง ตามการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้า (electrical voltage signal) จากการสั่นสะเทือนเชิงกล (Machanical vibration) ซึ่งมาจากพลังเสียงที่ไมค์ได้รับเข้าไปนั่นเอง





เคส (Case) คืออะไร

Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU  เมนบอร์ด การ์ดจอฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น





   ซีดีรอมคืออะไร :  CD-ROM
            ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage 
   Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล
   เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน 
   จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น





ซอฟท์แวร์
2.  ซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

       2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ ( System Software) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสั่งงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น และทำหน้าที่ประสานงานกับซอฟท์แวร์ประยุกต์ทั้งระบบ ตัวอย่างของซอฟท์แวร์ระบบ ได้แก่ Windows, Mac OS, Unix และ Linux เป็นต้น


Windows คืออะไร
     Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส






     ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP



แมคโอเอส (Mac OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช โดยทั้งคู่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์. แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) รายแรกที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์





รุ่นแรกๆ ของระบบปฏิบัติการนี้ ไม่ได้ใช้ชื่อแมคโอเอส, อันที่จริงระบบปฏิบัติการนี้ในรุ่นแรกๆ ยังไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำ
ทีมพัฒนาแมคโอเอสประกอบด้วย บิลล์ แอตคินสัน, เจฟ รัสกิน, แอนดี เฮิตซ์เฟลด์ และคนอื่นๆ
แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมเป็นอันดับสองรองจาก วินโดวส์ 




ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น






 2.2 ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software)เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น พิมพ์เอกสาร นำเสนองาน และคำนวณ หรือเพื่อใช้งานเฉพ าะด้าน ตัวอย่างได้แก่ Microsoft Word, Adobe Photoshop และ Macromedia Dreamweaver เป็นต้น


ความหมายของ ICT
ICT ย่อมาจาก Information and Communication Technology

ICT ย่อมาจาก Information and Communication Technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ความหมายตามที่ให้ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ “กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology” หรือกระทรวงไอซีที-ICT

อธิบายขอบข่ายงานแยกตามตัวอักษรได้ว่า
“I” Information
สารสนเทศ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีภาระหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารข้อมูลบนเครือข่าย อยู่ในศีลธรรมอันดี และไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ICT เป็นการเฉพาะ โดยให้สิทธิ์พิเศษในด้านการจัดหาเงินทุนหรือการร่วมลงทุน เป็นแหล่งกลางของข้อมูลออนไลน์ จัดให้มีองค์กรที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจ ICT สนับสนุนส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันเครือข่ายสารสนเทศในสถาบันการศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจ
“C” Communications
การสื่อสาร ขอบข่ายงานคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศที่เพียงพอในต้นทุนที่แข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มผู้นำในภูมิภาค มีเป้าหมายให้ประชากรมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มห้องสมุดไอที เพิ่มอัตราความสามารถในการใช้ ICT ของประชากรให้ถึงร้อยละ 60 เนื่องจากเป็นพื้นฐานต่อทักษะของประชาชนในสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้
กำหนดให้อัตราค่าบริการในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศขั้นต้นเหมาะสมกับประชาชนส่วนใหญ่ ให้มีการสร้างเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีโครงสร้างการเชื่อมต่อตามโครงสร้างระบบราชการ
“T” Technology
เทคโนโลยี รวมคำ 2 คำคือ Technique หมายถึงวิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และ Logic หมายถึงความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว
ลักษณะงานคือสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่และการผลิตภายในประเทศ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ ICT ลดความเสี่ยงในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะ SME ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความปลอดภัยในระบบ ส่งเสริมให้มีการผลิตฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้มาตรฐาน
https://resources.blogblog.com/img/icon18_edit_allbkg.gif 
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest



ชนิดของ CPU รุ้นปัจจุบัน  
 เทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
1. ฮาร์ดแวร์
mouse_white.gifฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง 
เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสาร
สำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ 
เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ
        หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
        หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
        หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
2 . ซอฟต์แวร์





     ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง 
ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ 
ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า 
กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น
 ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง 
หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
 ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
1.      ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ
 ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
2.      ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ 
ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น     ซอฟต์แวร์กราฟิก  ซอฟต์แวร์ประมวลคำ 
ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน      ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล  




https://sites.google.com/site/mju5303103351cs203/_/rsrc/1355238653321/xngkh-prakxb-khxng-rabb-sarsnthes-prakxb-dwy-xari-bang-cng-xthibay/5.jpg?height=168&width=400

3. ข้อมูล
     ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ
 อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ 
เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง
 มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน
 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร 
ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
4. บุคลากร
          บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ
 และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
 บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น
 ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

          ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่อง
สำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงาน
ตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับ
ขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน 
เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล
 ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย
 และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น 
สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน 

 TPSระบบประมวลผลรายการคือ
    ระบบประมวลผลรายการ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ด และการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร

         ในการดำเนินการของระบบประมวลผลรายการ ข้อมูลถูกนำเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของระบบสารสนเทศ โดยใช้แป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จนกระทั่งพร้อมที่จะถูกประมวลผล หลังจากที่ข้อมูลถูกป้อนเข้าไปแล้ว จะเกิดการประมวลผลเพื่อเปลี่ยนข้อมูลเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการจัดการ โดยระบบประมวลผลรายการจะทำการบันทึกรายการลงในฐานข้อมูลและผลิตเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายการนั้นออกมา อาจอยู่ในรูปแบบของรายงาน, ตาราง, กราฟ,ภาพเคลื่อนไหว และเสียงฯลฯ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ



MIS
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)
     ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย

คุณสมบัติของระบบ MIS คือ
     – ระบบ MIS สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
     – ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
     – ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
     – ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงขององค์กร
     – ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ MIS  กับ DSS

- ระบบ MIS เป็นระบบที่มีการนำผลการประมวลผลในระดับของระบบ DP ของแต่ละงานในหน่วยงานที่ประมวลผล มาแล้วทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลของงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กันของข้อมูลของงานแต่ละงาน
- ระบบ DSS เป็นระบบที่ทำการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการตัดสินใจ โดยการนำการประมวลผลในระบบ MIS มาประกอบกาานำ สารสนเทศจากภายนอกมาประกอบในการสร้างเครื่องมือ
- ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS คือ เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง – ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบ Dss เป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด



DSS
ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) 
     ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
     – ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
     – ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
     – ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
      – ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
     – ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
     – ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
     – ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
     – ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
     – ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
     – ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ


EIS
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) 
     ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
คุณสมบัติของระบบ EIS
     – มีการใช้งานบ่อย
     – ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
     – ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
     – การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
     – การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
     – ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
     – การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
     – ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ข้อดีของระบบ EIS
     1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
     2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
     3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
     4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
     5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
     6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น



ES
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence / Expert System : AI/ES) 
     ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference การแบ่งประเภทสารสนเทศมีความหลากหลายแล้วแต่จะใช้องค์ประกอบใดเป็นหลัก เช่นการวินิจฉัยความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ AI/ES
1 ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3 การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น